กติกาการแข่งขันบาสเกตบอล 3 คน

Last updated: 10 พ.ค. 2565  |  166606 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กติกาการแข่งขันบาสเกตบอล 3 คน

กติกาการแข่งขันบาสเกตบอล 3 คน (ปรับปรุง มกราคม 2015)
 

1 สนามแข่งขัน และลูกบาสเกตบอล

การแข่งขันจะแบ่งเป็นทีมละ 3 คนโดยใช้เพียงแป้นเดียว ขนาดสนามบาสเกตบอล 3 คนมาตรฐานคือ ยาว 15 เมตร กว้าง 11 เมตร สนามจะต้องมีแป้นทำคะแนนขนาดมาตรฐานรวมทั้ง เส้นชู้ตโทษ (5.80 เมตร) เส้นเขตสองคะแนน (6.75 เมตร) และเขตห้ามฟาล์ว บริเวณใต้แป้นด้าน ทั้งนี้สามารถแข่งขันครึ่งสนามของสนามบาสเกตบอลปกติได้
ลูกแข่งขันสามารถใช้ได้กับการการแข่งขันทุกประเภท
หมายเหตุ – การเล่นโดยทั่วไป สามารถเล่นได้ทุกที่ที่มีแป้นบาสเกตบอล – มีเส้นเขตสนาม – หากมีพื้นที่จำกัด – สามารถปรับใช้กับพื้นที่ที่พอเพียง

 

2 ทีม

แต่ละทีมสามารถมีผู้เล่นทีมละ 4 คน (ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนาม 3 คน และผู้เล่นสำรอง 1 คน)

 

3 ผู้ตัดสิน

การแข่งขันสามารถใช้ผู้ตัดสิน 1-2 คน และผู้บันทึกคะแนน

 

4 เริ่มการแข่งขัน

4.1 ทั้งสองทีมสามารถทำการอบอุ่นร่างกาย ก่อนการแข่งขันในสนามได้

4.2 โยนเหรียญเพื่อเลือกสิทธิ์การส่งลูกก่อน ทีมที่ชนะการเสี่ยงสิทธิ์สามารถเลือกเล่นลูกก่อน หรือหลังก้อได้

4.3 เริ่มการแข่งขันโดยผู้เล่นทีมละ 3 คน

 หมายเหตุ – ข้อ 4.3 และ 6.4 ใช้เฉพาะการแข่งขันเป็นทางการของ FIBA* เท่านั้น (ไม่จำกัดสำหรับการเล่นทั่วไป)
*การแข่งขันที่เป็นทางการของ FIBA ประกอบด้วย โอลิมปิก, ชิงแชมป์โลก (รวมถึงยู18), ชิงแชมป์ทวีป (รวมถึงยู18), เวิร์ลทัวร์ และรวมดารา

 

5 การทำคะแนน

5.1 การชู้ตทำคะแนนในเขตเส้นโค้ง นับ 1 คะแนน

5.2 การชู้ตทำคะแนนนอกเขตเส้นโค้ง นับ 2 คะแนน

5.3 การชู้ตโทษ นับ 1 คะแนน

 

6 เวลาการเล่น

6.1 การแข่งขันปกติดังนี้: แข่งขันรอบเดียว 10 นาที หยุดเวลาเมื่อบอลตาย หรือมีการชู้ตโทษ เริ่มเวลาอีกครั้งเมื่อเริ่มการเล่นใหม่ (เวลาเริ่มเมื่อลูกถูกส่งให้ผู้เล่นฝ่ายรุก)

6.2 ก็ตามหากทีมใดทำคะแนนได้ 21 คะแนนก่อนหมดเวลาการแข่งขันปกติ ถือเป็นทีมชนะ กติกานี้เฉพาะการแข่งขันปกติ (ไม่ใช่การแข่งขันในเวลาพิเศษ)

6.3 หากเสมอกันในเวลาปกติ จะเล่นช่วงต่อเวลาพิเศษ 1 นาที ทีมใดทำคะแนนได้ 2 คะแนนก่อน เป็นทีมชนะ

6.4 หากทีมไม่มาทำการแข่งขันในเวลาที่กำหนด หรือ ผู้เล่นไม่ครบ 3 คน ให้ปรับเป็นแพ้ ในกรณีถูกปรับแพ้คะแนนจะให้เป็น W-0 หรือ 0-W (W คือผู้ชนะ)

6.5 จะให้ทีมแพ้ทันที หากออกจากสนามก่อนหมดเวลา หรือมีผู้เล่นบาดเจ็บ และ/หรือถูกปรับเป็นแพ้ ทีมชนะสามารถเลือกที่จะเก็บคะแนนในการแข่งขันหรือคะแนนที่ถูกปรับโทษ และทีมแพ้คะแนนจะเป็น 0

6.6 ทีมที่แพ้เพราะถูกปรับแพ้ หรือ ถูกลงโทษ ให้ปรับออกจากการแข่งขันนั้นๆ ทันที

หมายเหตุ – หากไม่มีนาฬิกาที่สามารถหยุด/เริ่มเวลา และ/หรือไม่สามารถทำคะแนนเพื่อให้จบการแข่งขันในช่วงเวลาพิเศษได้ FIBA แนะนำให้กำหนดเพดานคะแนนในเวลาที่กำหนดดังนี้ (แข่งขัน 10 นาที/ 10 คะแนน, แข่งขัน 15 นาที/ 15 คะแนน, แข่งขัน 21 นาที/ 21 คะแนน)

 

7 การฟาล์ว และโยนโทษ

7.1 ทีมจะได้โยนโทษทุกครั้ง เมื่อมีการทำฟาล์วรวม 6 ครั้งไปแล้ว ผู้เล่นจะไม่นับการทำฟาล์วบุคคล ตามข้อ 15

7.2 การทำฟาล์วขณะชู้ตทำคะแนนในเขตเส้นโค้งได้โยนโทษ 1 ครั้ง หากทำฟาล์วขณะชู้ตทำคะแนนนอกเขตเส้นโค้งได้โยนโทษ 2 ครั้ง

7.3 ทำฟาล์วขณะชู้ตและลูกลงห่วง ได้คะแนน และให้โยนโทษ 1 ครั้ง

7.4 ฟาล์วทีมครั้งที่ 7, 8 และ 9 ให้โยนโทษ 2 ครั้ง ฟาล์วครั้งที่ 10 และต่อๆไป ให้โยนโทษ 2 ครั้งและได้เล่นลูก ทั้งนี้ให้รวมถึงการฟาล์วขณะที่จะชู้ตทำคะแนน และตามกติกาข้อ 7.2 และ 7.3

7.5 การฟาล์วเทคนิคทุกครั้งได้โยนโทษ 1 ครั้ง และได้เล่นลูก ในขณะที่การทำฟาล์ว unsportsmanlike ให้โยนโทษ 2 ครั้งและได้เล่นลูก เริ่มเล่นอีกครั้งเขตสนามด้านบน เมื่อมีการฟาล์วเทคนิคและฟาล์ว unsportsmanlike

 หมายเหตุ – ไม่มีการโยนโทษหากเป็นฟาล์วของทีมรุก

 

8 อย่างไรคือการเอามาเริ่มเล่น

8.1 เมื่อการชู้ตได้คะแนน หรือการโยนโทษครั้งสุดท้าย (ยกเว้นต้องไปเริ่มครองบอล)

    -   ผู้เล่นทีมฝ่ายรุกที่ทำคะแนนไม่ได้ เล่นลูกโดยการเลี้ยงบอลหรือส่งบอลจากในสนามใต้แป้น  (ไม่ใช่จากเส้นท้าย) แทนที่จะเป็นเส้นด้านบนสนาม

    -   ทีมฝ่ายรับไม่มีสิทธิ์เล่นบอลในเขตห้ามฟาล์วบริเวณใต้แป้น

8.2  เมื่อการชู้ตไม่ได้คะแนน หรือการโยนโทษครั้งสุดท้าย (ยกเว้นต้องไปเริ่มครองบอล)

    -   ถ้าทีมฝ่ายรุกสามารถรีบาวด์ลูกได้ อาจจะพยายามทำคะแนนโดยไม่ต้องกลับไปเล่นลูกด้านบนสนาม

    -   ถ้าทีมฝ่ายรับสามารถรีบาวด์ลูกได้ ต้องส่งบอลกลับไปเริ่มเล่นด้านบนสนาม (โดยการส่ง หรือเลี้ยงบอล)

8.3  ถ้าฝ่ายรับสามารถขโมย หรือแย่งลูกได้ ต้องส่งบอลกลับไปเริ่มเล่นด้านบนสนาม (โดยการส่ง หรือเลี้ยงบอล)

8.4  การเปลี่ยนการครองบอลของทั้งทีมใดทีมหนึ่ง เมื่อบอลตาย ให้เริ่มต้นด้วยการเช็คบอล เช่น เปลี่ยนการครองบอล (ระหว่างผู้เล่นฝ่ายรับ และผู้เล่นฝ่ายรุก) ด้านบนสนาม

8.5  เมื่อผู้เล่นออกนอกสนาม เมื่อขาข้างหนึ้งออกนอกสนาม หรือเหยียบเส้น

8.6  ในการจัม๊พ์บอล ทีมฝ่ายรับจะได้เล่นลูก

 

9 การถ่วงเวลา

9.1  ถ่วงเวลา หรือไม่พยายามเล่น อาจถูกลงโทษ

9.2  ถ้าการแข่งขันมี ช็อตคล็อก ทีมฝ่ายรุกจะต้องพยายามทำคะแนนภายใน 12 วินาที การจับเวลาจะเริ่มเมื่อลูกบอลอยู่ในมือผู้เล่นฝ่ายรุก (เมื่อมีการเปลี่ยนการเล่นลูกของฝ่ายรับ หรือหลังจากทำคะแนนแล้ว)

หมายเหตุ - ถ้าไม่มีช็อตคล็อก และผู้ตัดสินเห็นว่าฝ่ายรุกไม่พยายามทำคะแนนในระยะเวลาพอสมควรแล้ว ให้เตือนทีมฝ่ายรุกถือได้ไม่เกิน 5 วินาที

 

10 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นสำรอง

การเปลี่ยนตัวสำรอง สามารถเปลี่ยนได้เมื่อบอลตาย ก่อนที่เช็คบอล หรือโยนโทษ ผู้เล่นสำรองสามารถลงสนามได้ เมื่อผู้เล่นที่เปลี่ยนออกก้าวออกนอกสนามแล้ว หรือได้รับสัญญาณการเปลี่ยนตัวที่ผู้ตัดสินแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่เทคนิค

 

11 การขอเวลานอก

11.1        แต่ละทีมสามารถขอเวลานอกได้ทีมละ 1 ครั้ง  ผู้เล่นใดก็ได้ สามารถขอเวลานอกเมื่อบอลตาย

11.2        ในกรณีมีการถ่ายทอดสด ฝ่ายจัดการแข่งขันสามารถกำหนดให้มีการขอเวลานอกที่เรียกว่า “ TV Time Out” เมื่อบอลตายครั้งแรกหลังจากนาทีที่ 6.59 และ นาทีที่ 3.59

11.3 การขอเวลากำหนดให้ 30 วินาที

หมายเหตุ - การขอเวลานอก และการเปลี่ยนตัว สามารถทำได้เมื่อบอลตายเท่านั้น และไม่สามารถทำได้ขณะกำลังเล่นบอล (ข้อ 8.1)

 

12 การประท้วง

ในกรณีที่ทีมเห็นว่ามีผู้ตัดสินใช้กติกาผิด หรือเกิดเหตุการณ์ที่ผิดกติการะหว่างการแข่งขัน ซึ่งผลกระทบ ให้ดำเนินการดังนี้

1.       ผู้เล่นของทีมนั้นควรลงชื่อในใบคะแนนทันทีหลังจบเกม ก่อนที่ผู้ตัดสินจะลงนาม

2.       ภายใน 3 นาที ทีมจะต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมเงิน 200 ยูเอสดอลล่า ให้กับผู้ควบคุมการแข่งขัน หากการประท้วงเป็นผลจะได้รับเงินคืน

3.       ภาพบันทึกวีดีโอ จะใช้เมื่อมีการชู้ตลูกสุดท้ายเมื่อหมดเวลาเพื่อตัดสินว่าปล่อยบอลไปแล้วหรือไม่เท่านั้น และ/หรือ เพื่อตัดสินว่าเป็นการชู้ต 1 หรือ 2 คะแนน

 

13 การจัดอันดับทีม

ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งกลุ่ม หรือพบกันหมด ถ้าทีมมีคะแนนเท่ากัน ให้การพิจารณการจัดอันดับทีมดังนี้

1.       ทีมที่ชนะมากที่สุด (หรืออัตราส่วนชนะ หากจำนวนการแข่งขันไม่เท่ากัน เปรียบเทียบเมื่อมีมีการแบ่งหลายกลุ่ม)

2.       ดูจากผลการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีม (Head to head) พิจารณาเฉพาะการแข่งขันในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น

3.       ทีมที่ทำคะแนนได้มากที่สุด (โดยไม่พิจารณาจากคะแนนที่ชนะผ่าน)

หากพิจารณาจากใน 3 ข้อข้างต้นแล้ว ยังเท่ากัน ให้ทีมที่ชนะมากที่สุด เป็นทีมที่มีอันดับดีกว่า

 

14 กฏทีมวาง

ทีมวางให้พิจารณาจากอันดับคะแนนของทีม (คะแนนรวมของคะแนนอันดับ 3 ผู้เล่นของทีม (Team’s 3 best players) ก่อนที่จะมีการแข่งขัน) ในกรณีที่ทีมมีคะแนนจัดอันดับเท่ากัน  ให้จับฉลากเพื่อการวาง

 

15 การไล่ออก

ผู้เล่นที่ทำฟาล์ว unsportsmanlike 2 ครั้ง (ไม่รวมถึงการทำฟาล์วเทคนิค) ให้ผู้ตัดสินไล่ออกจากสนาม และอาจถูกให้ออกจากการแข่งขันโดยฝ่ายจัดการแข่งขันด้วย  ทั้งนี้ฝ่ายจัดการแข่งขันอาจจะให้ผู้เล่นออกจากการแข่งขันเมื่อ เมื่อผู้เล่นใช้ความรุนแรงทางกายหรือวาจา หลอกลวง ไม่ให้ความร่วมในเรื่องสารกระตุ้นของ FIBA (ข้อ 4 ในกฏระเบียบของ FIBA) หรือละเมิดกฏจรรยาบรรณของ FIBA (ข้อ 1 วรรค 2 ในกฏระเบียบของ FIBA) ฝ่ายจัดการแข่งขันอาจจะให้สมาชิกของทีมคนอื่นออกจากการแข่งขันได้เช่นกัน (รวมถึงผู้ที่ไม่ได้กระทำ) หากมีพฤติกรรมผิดต่อวินัย FI มีสิทธิ์ลงโทษทางวินัย หากผู้เล่นแสดงพฤติกรรมนอกกรอบในการแข่งขัน ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของ 3x3planet.com และ กฏระเบียบของ FIBA โดยการลงโทษผู้ที่ละเมิดหรือถูกให้ออกตามข้อ 15

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้