Last updated: 14 ส.ค. 2564 | 5897 จำนวนผู้เข้าชม |
กติกาและวิธีการเล่น
กติกาบาสเกตบอลของสหพันธบาสเกตบอลนานาชาติ (FIBA) ฉบับล่าสุดนี้มีผลบังคับใช้ กับทุกเกมการแข่งขันโดยใช้กับทุกสถานการณ์ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกาฉบับเริ่มต้น และหนังสือแปลความกติกาต้นฉบับจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนหลักการตามกรอบความคิดของกติกามาสู่สถานการณ์ ที่เกิดขึ้นจริงในสนามแข่งขันบาสเกตบอล 3X3 ผู้ตัดสินเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการตัดสินเกมการแข่งขัน แม้ว่าสถานการณ์นั้นไม่ได้ระบุไว้ในกติกาบาสเกตบอล 3X3 หรือเอกสารแปลความฉบับนี้ก็ตาม การเปลี่ยนแปลง และ/หรือการปรับปรุงกติกาจากเดิมจะเน้นข้อความด้วยแถบสีเหลือง
กติกาข้อ 1 สนามและลูกบอล (Court and Ball)
1.1 การแข่งขันบาสเกตบอล 3X3 จะเล่นบนสนามแข่งขันที่ประกอบด้วย 1 ห่วงประตู สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้าง 15 เมตร และมีความยาว 11 เมตร ขนาดเท่ากับ สนามบาสเกตบอลมาตรฐานรวมถึงเส้นโยนโทษ (ยาว 5.80 เมตร) เส้น 2 คะแนน (ยาว 6.75 เมตร) และมีพื้นที่ปราศจากการฟาวล์ชน (No charge semi-circle area) ใต้ห่วงประตู อาจจะใช้ครึ่ง สนามบาสเกตบอลขนาดมาตรฐานสำหรับเป็นสนามแข่งขันก็ได้
1.2 ลูกบาสเกตบอล 3X3 สามารถใช้ได้ทุกประเภทการแข่งขัน
หมายเหตุ
1. ในระดับรากหญ้าการเล่นบาสเกตบอล 3X3 สามารถเล่นได้ทุกพื้นที่ โดยการปรับ ขนาดสนามใช้ให้เหมาะสมกับสถานที่แข่งขัน อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ของสหพันธ์ฯ (FIBA 3X3) จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดที่กล่าวไว้ข้างต้นอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงนาฬิกายิงประตูที่ติดไว้ตรงเบาะด้านหลังแป้นด้วย
2. การแข่งขันอย่างเป็นทางการของสหพันธฯ ประกอบด้วยการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก, ชิงแชมป์โลก (รวมทั้งประเภทอายุ 23 และ 18 ปี), ชิงแชมป์ทวีป (รวมทั้งประเภท 18 ปี) และระดับ World Tour ด้วย
กติกาข้อ 2 ทีม (Team)
ทีมแข่งขันแต่ละทีมจะต้องมีผู้เล่น 4 คน (ผู้เล่นในสนาม 3 คน สำรอง 1 คน) หมายเหตุ
ขณะแข่งขันไม่อนุญาตให้มีผู้ฝึกสอน (Coaches) ในสนามหรือการตะโกนสอนระยะไกล (Remote coaching) จากนอกสนาม
ตัวอย่าง 2-1: ระหว่างการแข่งขันมีบุคลคนหนึ่ง กระทำตนเหมือนผู้ฝึกสอนนั่งอยู่นอกสนามแข่งขัน
และให้คำแนะนำแก่ผู้เล่น การกระทำนี้เกิดขึ้นระหว่าง :
(ก) ระหว่างการแข่งขัน (During playing time)
(ข) ระหว่างเวลานอก (During a time-out)
การแปลความตามกติกา 2-1 : ทั้งสองกรณีผู้เล่นจะต้องไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองกับบุคคลอื่น ๆ นอกสนามหรือการสื่อสารในรูปแบบใด ๆ ระหว่างผู้เล่นและผู้ฝึกสอนระหว่างการแข่งขัน การกระทำดังกล่าวอาจจะถูกพิจารณาเป็นการกระทำที่ขาดน้ำใจนักกีฬา ทีมนั้นจะได้รับการตักเตือน หนึ่งครั้ง หลังจากได้รับการตักเตือนหากมีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นอีก ให้ปรับเป็นฟาวล์เทคนิค ผู้ควบคุมการแข่งขันอาจจะแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบเมื่อพบการกระทำดังกล่าว
กติกาข้อ 3 ผู้ตัดสิน (Game Officials)
การแข่งขันประกอบด้วยผู้ตัดสิน 2 คนพร้อมกับเจ้าหน้าที่โต๊ะเทคนิค 3 คน (ผู้บันทึกใบคะแนน, ผู้จับเวลาแข่งขัน และผู้จับเวลายิงประตู)
หมายเหตุ : กติกาข้อที่ 3 ไม่ใช้บังคับในการแข่งขันในระดับรากหญ้า : Grassroots level
คำชี้แจง
นอกจากเจ้าหน้าที่โต๊ะเทคนิคแล้ว ผู้ควบคุมการแข่งขัน (ถ้ามี) อาจจะต้องแจ้งให้กับ ผู้ตัดสินในสนามทราบว่ามีสิ่งผิดปกติใดเกิดขึ้น ในการละเมิดข้อบังคับของสหพันธ์ฯ กติกาการแข่งขัน หรือจากการแปลความตามกติกา
ตัวอย่าง 3-1 : หลังจากเริ่มเกมแข่งขันผ่านไป 3 นาที ผู้ตัดสินคนหนึ่งเกิดการบาดเจ็บ และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
การแปลความตามกติกา 3-1 : ถ้าผู้ตัดสินได้รับบาดเจ็บหรือเหตุผลใด ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายในเวลา 5 นาที ให้ดำเนินการแข่งขันต่อโดยใช้ผู้ตัดสินที่เหลืออยู่คนเดียวตลอดเวลาแข่งขัน ยกเว้นมีผู้ตัดสินสำรองที่เหมาะสมกับเกมแข่งขัน โดยหลังจากได้ปรึกษากับฝ่ายจัด การแข่งขันแล้วให้ผู้ตัดสินที่เหลือในสนามเป็นผู้ตัดสินใจในการเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินที่มาทำหน้าที่แทน
กติกาข้อ 4 การเริ่มแข่งขัน (Beginning of the Game)
4.1 ทีมแข่งขันทั้ง 2 ทีมทำการอบอุ่นร่างกายพร้อมกันก่อนเกมแข่งขัน (ในเวลาเดียวกัน)
4.2 การเสี่ยงทายเหรียญจะเป็นวิธีการตัดสินว่าทีมใดมีสิทธิ์ได้ครอบครองบอลก่อน ทีมที่ชนะ ในการเสี่ยงทายเหรียญมีสิทธิ์เลือกที่จะเริ่มเกมก่อน (Beginning of the game) หรือให้ทีมตรงข้าม ได้ส่งเริ่มเกม (Beginning of the game) เพื่อเลือกขอส่งเริ่มเล่นเมื่อมีการต่อเวลาพิเศษ (Overtime)
4.3 การแข่งขันไม่สามารถเริ่มได้ หากทีมใดทีมหนึ่งไม่มีผู้เล่นที่พร้อมทำการแข่งขัน 3 คน บนสนามแข่งขัน
หมายเหตุ : กติกาข้อที่ 4.3 ไม่ใช้บังคับในการแข่งขันในระดับรากหญ้า : Grassroots level
ตัวอย่างที่ 4-1: เมื่อหมดเวลาการแข่งขันในเวลาปกติทีม A ทำได้ 15 คะแนน ทีม B ทำได้ 15 คะแนน ทีม A เป็นทีมที่ได้สิทธิ์เริ่มเกม (Beginning of the game) ขณะพักก่อนแข่งขันในช่วง ต่อเวลา ผู้เล่น B1 แสดงกิริยาไม่ให้ความเคารพต่อผู้ตัดสิน และถูกขานฟาวล์เทคนิค
การแปลความตามกติกา 4-1 : ก่อนเริ่มการแข่งขันช่วงต่อเวลา ผู้เล่นทีม A คนใดคนหนึ่ง ได้โยนโทษ 1 ครั้ง โดยไม่มีการตั้งแถวแย่งบอล ทีม B ได้สิทธิ์ส่งเริ่มเล่นในช่วงต่อเวลาแข่งขัน
ตัวอย่างที่ 4-2 : ทีม B ได้สิทธิ์ส่งบอลเริ่มเกม จากการเสี่ยงทายเหรียญ ผู้ตัดสินเกิดความผิดพลาดโดยเข้าใจผิดว่าทีม A ได้สิทธิ์ส่งบอลส่งบอลเริ่มเกมก่อน ความผิดพลาดได้ถูกค้นพบเมื่อ :
ก. ก่อนที่ลูกบอลจะอยู่ในมือของผู้เล่นทีม A ในการส่งบอลเริ่มเกม (Beginning of the game) (นาฬิกาแข่งขันแสดงเวลา 10.00 นาที)
การแปลความตามกติกา 4-2.1 : การแข่งขันยังไม่ได้เริ่มต้น เปลี่ยนให้ทีม B ได้สิทธิ์ส่งบอล เริ่มเกมจากผลการเสี่ยงทายเหรียญ
ข. หลังจากได้เริ่มต้นการแข่งขันแล้ว (นาฬิกาแข่งขันแสดงเวลา 09.59 นาทีหรือน้อยกว่า)
การแปลความตามกติกา 4-2.1 : ถ้าการแข่งขันได้เริ่มต้นแล้วไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ทีม B จะได้ส่งบอลเริ่มเล่นหากมีการต่อเวลาแข่งขัน
ตัวอย่างที่ 4-3 : ในการแข่งขันบาสเกตบอล 3X3 ที่สหพันธ์ฯ จัดขึ้น ทีม B มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คนที่พร้อมจะเล่นบนสนามแข่งขัน เมื่อถึงเวลาตามโปรแกรมแข่งขัน
การแปลความตามกติกา 4-3 : การเริ่มต้นการแข่งขันจะยืดเวลาออกไปได้มากที่สุด 5 นาที (สำหรับการแข่งขันโดยสหพันธ์ฯ ประธานจัดการแข่งขัน, ผู้ควบคุมการแข่งขันสามารถยืดหยุ่นเวลาได้ ตามดุลยพินิจเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์) ถ้านักกีฬาที่มาช้ามาถึงสนามก่อนเวลา 5 นาที ให้เริ่มต้น การแข่งขันทันที แต่หากผู้เล่นที่มาช้ามาถึงLนามหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 5 นาที ให้ปรับทีม A แพ้การแข่งขัน (Forfeited to Team A)
ตัวอย่างที่ 4-4 : ในการแข่งขันบาสเกตบอล 3X3 ที่สหพันธ์ฯ จัดขึ้น ทีม A มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คนที่พร้อมจะแข่งขันบนสนามเนื่องจากบาดเจ็บหรือถูกให้ออกจากสนาม ฯลฯ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น :
ก. ก่อนเริ่มต้นการแข่งขัน
ข. หลังจากได้เริ่มต้นการแข่งขันไปแล้ว
การแปลความตามกติกา 4-4 : ข้อบังคับในเรื่องจำนวนผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน ใช้บังคับเฉพาะช่วงก่อนเริ่มการแข่งขันเท่านั้น ในกรณีข้อ ก. ไม่สามารถเริ่มต้นการแข่งขันได้ ในกรณี ข้อ ข. ทีม A สามารถแข่งขันต่อไปได้แม้ว่าจะมีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน หลังจากเริ่มการแข่งขันแล้วทีมแข่งขันจะต้องมี ผู้เล่นในสนามอย่างน้อย 1 คน
ตัวอย่างที่ 4-5 : ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่น A1 ออกจากการแข่งขัน เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ ทีม A ยังคงแข่งขันต่อด้วยผู้เล่นเพียง 2 คน เพราะไม่มีผู้เล่นสำรอง ขณะที่ทีม A ทำการแข่งขันด้วย ผู้เล่น 2 คน ทีม B ได้ตัดสินใจด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งขอแข่งขันด้วยผู้เล่นจำนวน 2 คนเท่ากัน โดยมีผู้เล่น 1 คนยังคงนั่งอยู่ที่ม้านั่งสำรองข้างสนาม
การแปลความตามกติกา 4-5 : การตัดสินใจของทีม B ที่จะแข่งขันด้วยผู้เล่นจำนวน 2 คน สามารถกระทำได้แม้ว่าทีม B จะมีผู้เล่น 3 คน แต่ต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 1 คน อยู่ในสนามแข่งขัน
ตัวอย่างที่ 4-6 : ก่อนเริ่มต้นการแข่งขันผู้เล่น B1 แสดงกิริยาไม่เคารพผู้ตัดสิน และถูกขานฟาวล์เทคนิค
การแปลความตามกติกา 4-6 : ก่อนเริ่มต้นการแข่งขันผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีม A ได้โยนโทษ 1 ครั้งโดยไม่มีการตั้งแถวแย่งบอล การฟาวล์เทคนิคก่อนเริ่มต้นการแข่งขันผู้เล่นทีมตรงข้ามจะได้โยนโทษ 1 ครั้ง เกมจะเริ่มต้นการแข่งขันจากผลของการเสี่ยงเหรียญ
กติกาข้อ 5 การทำคะแนน (Scoring)
5.1 การยิงประตูภายในเส้นโค้ง (ในพื้นที่ 1 คะแนน) จะได้ 1 คะแนน
5.2 การยิงประตูนอกเส้นโค้ง (ในพื้นที่ 2 คะแนน) จะได้ 2 คะแนน
5.3 การโยนโทษทุกครั้งที่เป็นผลสำเร็จ จะได้ 1 คะแนน
คำชี้แจง
ในทุกสถานการณ์ ที่ผู้เล่นฝ่ายรับได้ครอบครองบอลและทำคะแนนได้ โดยไม่ได้นำบอล ออกนอกเส้นโค้ง (Clearing the ball) ให้ยกเลิกคะแนนที่ทำได้ ในสถานการณ์เดียวกันนี้ให้รวมถึงการปัดบอลหรือการส่งบอลลงห่วงประตูด้วย (ฝ่ายรับยังคงครอบครองบอลอยู่)
ในทุกสถานการณ์ที่ทีมป้องกันปัดบอลในการป้องกันประตู (Defensive rebound) บอลลงห่วงประตูโดยยังไม่ได้ครอบครองบอล หรือทำให้บอลเปลี่ยนทิศทางจากการส่งบอล, ปัดบอลจากการเลี้ยงบอลแล้วบอลลงห่วงประตู ให้นับเป็นคะแนนและเป็นการทำคะแนนของผู้เล่นฝ่ายรุกคนสุดท้ายที่ได้ครอบครองบอล ถ้าการปัดบอลหรือจากการสัมผัสที่ทำให้บอลเปลี่ยนทิศทางเกิดขึ้นในพื้นที่ 1 คะแนน ให้นับเป็น 1 คะแนน ถ้าเกิดขึ้นในพื้นที่ 2 คะแนนให้นับเป็น 2 คะแนน
ตัวอย่างที่ 5-1: ผู้เล่น A1 ยิงบอลในพื้นที่ 2 คะแนน ขณะที่บอลลอยขึ้นในอากาศได้ถูกปัดโดย :
ก. ผู้เล่นฝ่ายรุก
ข. ผู้เล่นฝ่ายรับ
ผู้เล่นกระโดดจากพื้นที่ 1 คะแนน จากนั้นลูกบอลยังคงลอยและลงห่วงประตู
การแปลความตามกติกา 5-1 : ค่าของประตูที่ทำได้ให้กำหนดจากพื้นที่ของผู้เล่นที่ปล่อยบอลยิงประตู ถ้าประตูที่ทำได้มาจากพื้นที่ 1 คะแนนให้นับเป็น 1 คะแนน ถ้าประตูที่ทำได้มาจากพื้นที่ 2 คะแนน ให้นับเป็น 2 คะแนน ทั้งสองกรณีทีม A จะได้ 2 คะแนน เนื่องจากผู้เล่น A1 ยิงประตูจากพื้นที่ 2 คะแนน
ตัวอย่างที่ 5-2 A1 กำลังเลี้ยงบอล, บอลถูกปัดโดย B1 และลอยลงห่วงประตู *A1 อยู่ภายในเส้นโค้ง การแปลความตามกติกา 5-2.1: A1 ทำได้ 1 คะแนน เนื่องจาก A1 อยู่ในพื้นที่ 1 คะแนน *A1 อยู่นอกเส้นโค้ง การแปลความตามกติกา 5-2.2 A1 ทำได้ 2 คะแนน เนื่องจาก A1 อยู่ในพื้นที่ 2 คะแนน
ตัวอย่างที่ 5-3: A1 ส่งบอลไปให้ A2 บอลถูกทำให้เปลี่ยนทิศทางโดย B1 และลอยลงห่วงประตู *A1 อยู่ภายในเส้นโค้ง การแปลความหมายตามกติกา5-3.1 A1 ทำได้ 1 คะแนน เนื่องจาก A1 อยู่ในพื้นที่ 1 คะแนน
*A1อยู่ภายนอกเส้นโค้ง การแปลความหมายตามกติกา5-3.2: A1 ทำได้ 2 คะแนน เนื่องจาก A1 อยู่ในพื้นที่ 2 คะแนน
การยิงประตูภายในโค้งครึ่งวงกลมมีค่าคะแนนเท่ากับ 1 คะแนน การยิงประตูนอกโค้งครึ่งวงกลมมีค่าคะแนนเท่ากับ 2 คะแนน การยิงประตูที่เส้นโทษสำเร็จมีค่าคะแนนเท่ากับ 1 คะแนน
กติกาข้อ 6 เวลาแข่งขัน/ทีมที่ชนะ (Playing Time/Winner of a Game)
6.1 เวลาการแข่งขันโดยปกติคือ 1 ช่วง เวลา 10 นาที นาฬิกาแข่งขันจะหยุดเดินเมื่อเกิดสถานการณ์บอลตาย และมีการโยนโทษ นาฬิกาแข่งขันจะเริ่มเดินใหม่เมื่อ :
-ระหว่างส่งเริ่มเล่น (Check ball) ทีมรุกได้รับบอลหลังจากการส่งเริ่มเล่นโดยสมบูรณ์
-หลังจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายเป็นคะแนน ทีมที่ได้เป็นฝ่ายรุกครั้งถัดไป (ทีมที่เสียคะแนน) ได้ครอบครองบอลโดยสมบูรณ์
-หลังจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายไม่ลงห่วงประตูซึ่งยังคงเป็นบอลดี และบอลไปสัมผัส หรือถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งในสนามแข่งขัน
6.2 ทีมแรกที่ทำคะแนนได้ 21 คะแนน หรือมากกว่าจะเป็นทีมชนะก่อนหมดช่วงเวลาแข่งขันปกติ กติกาเรื่องการแข่งขันสิ้นสุดจะนำมาใช้ในช่วงเวลาแข่งขันปกติเท่านั้น (ไม่นำมาใช้ในช่วงต่อเวลา)
6.3 ถ้าหมดเวลาแข่งขันแล้วมีคะแนนเท่ากันให้ต่อเวลาแข่งขัน (Overtime) โดยพัก 1 นาที ก่อนเริ่มเล่นช่วงต่อเวลา โดยทีมแรกที่ทำคะแนนได้ 2 คะแนนก่อนจะชนะการแข่งขันในเกมนั้น
6.4 เมื่อถึงเวลาแข่งขันตามโปรแกรมทีมที่มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คนที่พร้อมเล่นในสนามให้ปรับเป็นทีมแพ้การแข่งขัน (Lose by forfeit) ในกรณีนี้ให้เขียนในใบบันทึกคะแนนเป็น w-0 หรือ 0-w (w หมายถึง ชนะ) สำหรับทีมชนะผลการแข่งขันในเกมนี้จะไม่นำมาพิจารณาในการคำนวณคะแนนเฉลี่ยของทีม ในขณะที่ทีมแพ้ผลการแข่งขันในเกมนี้จะถือว่าคะแนนเป็น 0 เมื่อคำนวณคะแนนเฉลี่ยของทีม ทีมจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันหลังจากถูกปรับแพ้ครั้งที่สองหรือในกรณีที่ไม่มาทำการแข่งขัน
6.5 ทีมจะถูกปรับแพ้ (Lose by default) เมื่อผู้เล่นเดินออกจากสนามก่อนจะหมดเวลาแข่งขัน หรือผู้เล่นในทีมทั้งหมดบาดเจ็บและ/หรือถูกไล่ออกทั้งทีม ในกรณีที่ทีมถูกปรับให้แพ้ตามสถานการณ์นี้ ทีมที่ชนะมีสิทธิ์เลือกคะแนนที่ทำได้หรือจะเอาคะแนนจากการปรับคู่ต่อสู้แพ้การแข่งขันซึ่งมีค่าคะแนนเท่ากับ 0 ในกรณีที่ไม่มาทำการแข่งขัน (Game by default) ทีมชนะมีสิทธิ์เลือกให้เกมนั้นถูกปรับแพ้ ผลการแข่งขัน (Lose by default) เมื่อการคำนวณคะแนนเฉลี่ยของทีมจะไม่ถูกนำมาพิจารณา
6.6 ทีมที่ถูกปรับให้แพ้หรือเจตนาให้แพ้ (Lose by default or a tortuous) จะต้องออกจากการแข่งขัน (Disqualified) ในรายการนั้น
หมายเหตุ:
1. ถ้านาฬิกาแข่งขันไม่สามารถแสดงการวิ่งของเวลา และ/หรือ แสดงคะแนน หยุดเวลาเมื่อเกิดบอลตาย ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของฝ่ายจัดการแข่งขันกำหนดคะแนนให้สอดคล้องกับระยะเวลาแข่งขัน แนะนำว่าเวลาแข่งขัน 10 นาที/10 คะแนน, 15 นาที/15 คะแนน, 21 นาที/21 คะแนน
2. กติกาข้อ 6.4 ไม่บังคับใช้กับระดับรากหญ้า (Grassroots level)
ตัวอย่างที่ 6-1: คะแนนของ ทีม A : 20 คะแนน ทีม B : 20 คะแนน ผู้เล่น A1 ทำคะแนน ได้ 1 คะแนน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ :
ก. เหลือเวลา 2 นาที บนนาฬิกาแข่งขัน
การแปลความตามกติกา 6-1.1 ทีม A ชนะการแข่งขัน ผลคะแนนสุดท้ายที่ทำได้ ทีม A : 21 คะแนน ทีม B : 20 คะแนน
ข. ระหว่างต่อเวลาแข่งขัน
การแปลความตามกติกา 6-1.2: การแข่งขันดำเนินต่อไปทีมแรกที่ทำคะแนนได้ 2 คะแนนก่อน ในช่วงต่อเวลาแข่งขันจะเป็นทีมชนะ
ตัวอย่างที่ 6-2: ผู้เล่น A1 ถูกทำฟาวล์ขณะกำลังยิงประตูจากนอกเส้นโค้งบอลลงห่วงประตู เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ :
ก. เหลือเวลา 1 นาที บนนาฬิกาแข่งขัน ด้วยคะแนน ทีม A : 20 คะแนน ทีม B : 20 คะแนน
การแปลความตามกติกา 6-2.1: ทีม A ชนะการแข่งขันด้วยคะแนน ทีม A : 22 คะแนน ทีม B : 20 คะแนน ในเวลาแข่งขันปกติคะแนนที่ทีมชนะทำได้มากที่สุดจะไม่เกิน 22 คะแนน การโยนโทษและการส่งบอลเริ่มเล่นหลังจากการฟาวล์ให้ยกเลิก (ผลชนะ-แพ้เกิดขึ้นแล้ว) ข. ขณะต่อเวลาการแข่งขันด้วยคะแนน ทีม A : 21 คะแนน – ทีม B : 21 คะแนน
การแปลความตามกติกา 6-2.2 : ทีม A ชนะการแข่งขันด้วยคะแนน ทีม A : 23 คะแนน ทีม B : 21 คะแนน ในช่วงต่อเวลาคะแนนที่ทีมชนะทำได้มากที่สุดจะไม่เกิน 23 คะแนน การโยนโทษและการส่งบอลเริ่มเล่นหลังจากการฟาวล์ให้ยกเลิก
ตัวอย่างที่ 6-3: ด้วยคะแนน ทีม A : 15 - ทีม B : 15 ผู้เล่น A1 ถูกทำฟาวล์ขณะกำลังยิงประตู จากพื้นที่ 2 คะแนน เป็นการฟาวล์ทีมครั้งที่ 10 ของทีม B ในเวลาเดียวกับสัญญาณหมดเวลาแข่งขัน ดังขึ้นและบอลลงห่วงประตู
การแปลความตามกติกา 6-3.1 การยิงบอลลงห่วงประตูของผู้เล่น A1 ให้นับคะแนน และได้โยนโทษอีก 2 ครั้งจากการถูกทำฟาวล์ แม้ว่ายังไม่ถึง 21 คะแนน ทีม A จะเป็นทีมชนะการแข่งขัน คะแนนจากการโยนโทษของ A1 จะเป็นตัวกำหนดคะแนนสุดท้ายของเกมแข่งขัน ทีม A จะไม่ได้ส่งบอลเริ่มเล่นเพราะหมดเวลาการแข่งขันในเวลาปกติแล้ว
กติกาข้อ 7 การฟาวล์/การโยนโทษ (Foul/Free Throws)
7.1 ทีมจะตกอยู่ในสถานการณ์ถูกลงโทษ หลังจากกระทำฟาวล์รวม 6 ครั้ง ผู้เล่นจะไม่ได้รับ การยกเว้นในเรื่องจำนวนของการฟาวล์ ภายใต้กติกาข้อ 16 (การฟาวล์ออกจากการแข่งขัน)
7.2 ถ้าเกิดการฟาวล์ขณะผู้เล่นกำลังยิง, ผู้เล่นคนนั้นจะได้สิทธิ์ในการโยนโทษดังนี้
-ถ้ายิงบอลลงห่วงประตูจะนับเป็นคะแนน และจะได้โยนโทษเพิ่มอีก 1 ครั้ง จะได้โยนโทษ 2 ครั้ง เมื่อเป็นการฟาวล์ทีมครั้งที่ 7
-ถ้ายิงบอลจากด้านในเส้นโค้งไม่ลงห่วงประตูจะได้โยนโทษ 1 ครั้ง จะได้โยนโทษ 2 ครั้ง เมื่อเป็นการฟาวล์ทีมครั้งที่ 7
-ถ้ายิงบอลจากด้านนอกเส้นโค้งไม่ลงห่วงประตูจะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
7.3 การฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา (Unsportsmanlike foul) และการฟาวล์ไล่ออกจากการแข่งขัน (Disqualifying foul) ให้นับเป็นการฟาวล์ทีมจำนวน 2 ครั้ง ตามวัตถุประสงค์ของทีมฟาวล์ การฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาครั้งแรกของผู้เล่นจะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง แต่ไม่ได้สิทธิ์ครอบครองบอล การฟาวล์ให้ออกจากการแข่งขันทุกกรณี (รวมทั้งการทำฟาวล์ไม่มีน้ำใจครั้งที่ 2) จะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล
7.4 การฟาวล์ทีมครั้งที่ 7, 8 และ 9 จะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง การฟาวล์ทีมครั้งที่ 10 และครั้งต่อไปจะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล บทลงโทษนี้ควบคุมไปถึงการฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา และการฟาวล์ขณะยิงประตู และอยู่เหนือกติกา 7.2, 7.3 และ 7.4 แต่จะไม่นำมาใช้กับการฟาวล์เทคนิค
7.5 การฟาวล์เทคนิคทุกครั้งจะถูกโยนโทษ 1 ครั้ง หลังการโยนโทษแล้วให้ดำเนินการเล่นต่อ ดังนี้ (ไม่ต้องตั้งแถวแย่งบอล)
-ถ้าทำฟาวล์เทคนิคโดยผู้เล่นฝ่ายรับ (Defensive player) นาฬิกายิงประตูของทีมตรงข้าม ตั้งเวลาใหม่เป็น 12 วินาที
-ถ้าทำฟาวล์เทคนิคโดยผู้เล่นฝ่ายรุก (Offensive player) เวลายิงประตูของทีมนั้นให้เดินต่อจากเวลาที่หยุดการเล่น
หมายเหตุ
การฟาวล์ (ที่เกิดจากการปะทะโดยปกติ) โดยทีมรุก (Offensive foul) จะไม่ถูกโยนโทษ
คำชี้แจง 1:
การฟาวล์บุคคล คือ การปะทะของผู้เล่นกับฝ่ายตรงข้ามอย่างผิดกติกา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นขณะที่เป็นบอลดีหรือเป็นบอลตายก็ตาม ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่นแต่ละคนมีสิทธิ์ในการครอบครอง ตำแหน่งใด ๆ ในพื้นที่รูปทรงกระบอก (Cylinder) บนสนามแข่งขัน โดยที่พื้นที่นั้นไม่ได้ถูกครอบครอง มาก่อนโดยฝ่ายตรงข้าม หลักการดังกล่าวจะช่วยปกป้องพื้นที่บนสนามและครอบคลุมถึงพื้นที่เหนือศีรษะเมื่อผู้เล่นกระโดดขึ้นไปบนอากาศด้วย
ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ครอบครองบอล ผู้เล่นคนนั้นจะต้องไม่จับ, ผลัก, ชน, ปัด หรือขัดขวางการเคลื่อนที่ของคู่ต่อสู้ด้วยการยื่นมือ, แขน, ศอก, หัวไหล่, เอว, ขา, เข่า หรือเท้า โดยประยุกต์หลักการได้เปรียบ เสียเปรียบสามารถนำมาใช้ได้ ยกเว้นเป็นการขัดขวางการเคลื่อนที่อย่างอิสระโดยสิ้นเชิง จำเป็นจะต้องลงโทษ ผู้เล่นจะต้องไม่จับ, ผลัก, คู่ต่อสู้ เพื่อลดทอนความสามารถในการกระโดด หรือเคลื่อนที่ ผู้เล่นที่กำลังครอบครองบอลขณะที่ยังไม่ได้ยิงประตู ผู้เล่นฝ่ายรับจะต้องไม่ยึด, ผลัก, ชนหรือขัดขวางการเคลื่อนที่ด้วยการยื่นมือ, แขน, ข้อศอก, ไหล่, เอว, ขา, หัวเข่าหรือเท้าออกจากพื้นที่ทรงกระบอกจนทำให้ผู้เล่นฝ่ายรุกเสียความสมดุลในการควบคุมลูกบอล
ผู้เล่นที่กำลังยิงประตูทันทีที่ผู้เล่นคนนั้นออกจากพื้นที่แนวดิ่ง (ทรงกระบอก) และเกิดปะทะ กับคู่ต่อสู้ที่ยืนป้องกันอย่างถูกกติกาในทรงกระบอก ผู้เล่นที่ออกจากพื้นที่ทรงกระบอกจะต้องรับผิดชอบต่อการปะทะที่เกิดขึ้น
หลักการได้เปรียบ เสียปรียบสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ จนกว่า :
-ผู้เล่นฝ่ายรุกแสดงให้เห็นชัดเจนว่าสูญเสียการทรงตัวและ/หรือการครอบครองบอลเนื่องจาก การปะทะรุนแรงจากฝ่ายรับ
-ผู้เล่นฝ่ายรับแสดงให้เห็นชัดเจนว่าสูญเสียการทรงตัวเนื่องจากการปะทะรุนแรงจากฝ่ายรุก
ตัวอย่างวีดีโอ
• การปะทะขณะขึ้นทำประตู (Lay-up shot) ไม่ขานฟาวล์ (No called)
https://youtu.be/dMKlHQbAxfo?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/PrHxLi1vwTo?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/AazEFDb8IcM?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/bT6TUCuDTJo?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/kKrC2f-1gus?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/JzFGU5TOzfw?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/E35zrt-bPes?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
คำชี้แจง2:
การฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา (Unsportsmanlike Foul) เป็นการกระทำฟาวล์ผู้เล่นที่รุนแรงหรือการปะทะที่อาจเป็นอันตราย การดึงฝ่ายตรงข้ามในขณะครอบครองบอล ถือว่าเป็นการฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา
ตัวอย่างวีดีโอ
• การดึงในการเข้าทำประตู ฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา (Unsportsmanlike Foul)
https://youtu.be/Wa6Pof65xzQ?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
• การชกเพื่อตัดเกม ฟาวล์ให้ออกจากการแข่งขัน (Disqualifying foul)
https://youtu.be/Wa6Pof65xzQ?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
คำชี้แจง3:
ผู้เล่นกระทำการณ์เกินจริงหรือหลอกว่าถูกปะทะรุนแรงจะถูกขานฟาวล์เทคนิคโดยทันทีโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
ตัวอย่างวีดีโอ
• การหลอกประทะเกินจริง ฟาวล์เทคนิค (Technicl Foul)
https://youtu.be/hwaOsnjYKGs?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
• การหลอกว่าถูกประทะ ฟาวล์เทคนิค (Technicl Foul)
https://youtu.be/hwaOsnjYKGs?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
คำชี้แจง 4:
ในสถานการณ์เมื่อผู้เล่นฝ่ายรุกทำกำบัง (Screen) ต่อผู้เล่นฝ่ายรับ :
ขานฟาวล์ผู้เล่นฝ่ายรุก เมื่อ :
-เมื่อผู้เล่นฝ่ายรุกยื่นแขนออกโดยไม่ต้องคำนึงว่าทำให้เกิดการผลักหรือไม่
-เมื่อผู้เล่นฝ่ายรุกเคลื่อนที่และไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามกติกา
-เมื่อผู้เล่นฝ่ายรุกใช้ฝ่ามือวางบนผู้เล่นฝ่ายรับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะผลัก หรือจับ, ดึงผู้เล่นตรงข้าม
ขานฟาวล์ผู้เล่นฝ่ายรับ เมื่อ :
-เมื่อผู้เล่นฝ่ายรับจับหรือดึงผู้เล่นฝ่ายรุกไว้เพื่อไม่ให้มาป้องกันตนเองหรือทำให้เคลื่อนตัวได้ช้าลง
ตัวอย่างวีดีโอ
• การทำกำบังให้กับผู้เล่นที่มีบอล ฝ่ายรุกทำฟาวล์ด้วยการผลักแขนออกไป
https://youtu.be/9MvBTQkq31A?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/qWkYFbZTesw?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/o4zvH-MW-oo?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/um3zPSHYKrY?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/JYHFmFJjUK0?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/svv8_XqnX3E?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/kPIBpdoPap8?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/qvmo3QRGrac?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/c26bDR0OshY?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
การทำกำบังให้กับผู้เล่นที่มีบอล ฝ่ายรุกทำฟาวล์ด้วยการเคลื่อนที่กำบัง
https://youtu.be/2IhX1PiH2eg?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/fx7TzTC04ns?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
• การทำกำบังให้กับผู้เล่นที่มีบอล ฝ่ายรุกทำฟาวล์ด้วยการจับ/การเคลื่อนที่กำบัง
https://youtu.be/ENRxKYzQ5IQ?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
• การทำกำบังให้กับผู้เล่นที่มีบอล ฝ่ายรับทำฟาวล์ ด้วยการดึง
https://youtu.be/l87MNHGtWTE?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
• การทำกำบังให้กับผู้เล่นที่ไม่มีบอล ฝ่ายรับทำฟาวล์ ด้วยการผลักออก
https://youtu.be/Inb-dlIuxyQ?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
คำชี้แจง 5 :
ในสถานการณ์ที่มีการดำเนินการลงโทษหลายครั้งในเวลาเดียวกันในช่วงหยุดเกมแข่งขัน ผู้ตัดสินต้องให้ความสำคัญลำดับของการผิดระเบียบหรือการฟาวล์ที่เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาว่ามีบทลงโทษใดบ้าง และจะต้องยกเลิกบทลงโทษใด บทลงโทษที่เท่ากันให้ยกเลิกซึ่งกันและกัน
คำชี้แจง 6 :
บทลงโทษของการฟาวล์คู่ให้ยกเลิกซึ่งกันและกัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ของการฟาวล์ทีมหรือการทำฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาครั้งแรกหรือครั้งที่สอง หลังจากยกเลิกบทลงโทษที่เท่ากันแล้ว จะให้บอลกับทีมที่ได้ครอบครองบอลหรือทีมที่ได้สิทธิ์ครอบครองบอล ส่งเริ่มเล่น (Check ball) โดยไม่ต้องตั้งค่าเวลายิงประตูใหม่ ถ้าทั้งสองทีมไม่ได้ครอบครองบอลหรือไม่ได้สิทธิ์ครอบครองบอล ให้ถือว่าเป็นสถานการณ์ลูกกระโดด ให้ดำเนินการเล่นต่อด้วยฝ่ายรับส่งบอลเริ่มเล่นพร้อมเวลายิงประตู 12 วินาที
คำชี้แจง 7 :
สรุปการลงโทษฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา การทำฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาแต่ละครั้งให้นับเป็นฟาวล์ทีมเท่ากับ 2 ครั้ง
ผู้เล่นทำฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา การฟาวล์ทีม ครั้งที่ 1 - 6 กระทำเป็นครั้งแรก ได้โยนโทษ 2 ครั้ง กระทำเป็นครั้งที่สองได้โยนโทษ 2 ครั้งพร้อมส่งบอลเริ่มเล่น
การฟาวล์ทีม ครั้งที่ 7 - 9 กระทำเป็นครั้งแรก ได้โยนโทษ 2 ครั้ง กระทำเป็นครั้งที่สอง ได้โยนโทษ 2 ครั้งพร้อมส่งบอลเริ่มเล่น
การฟาวล์ทีม ครั้งที่ 7 - 9 กระทำเป็นครั้งแรก ได้โยนโทษ 2 ครั้งพร้อมส่งบอลเริ่มเล่น กระทำเป็นครั้งที่สอง ได้โยนโทษ 2 ครั้งพร้อมส่งบอลเริ่มเล่นพร้อมส่งบอลเริ่มเล่น
สรุปการลงโทษฟาวล์เทคนิค ให้ลงโทษการฟาวล์เทคนิคทันทีก่อนบทลงโทษอื่น ๆ (ถ้ามี)
การฟาวล์เทคนิคโดยฝ่ายรับ โยนโทษ 1 ครั้ง ทีมรุกได้ส่งบอลเริ่มเล่น ตั้งนาฬิกายิงประตู 12 วินาที
การฟาวล์เทคนิคโดยฝ่ายรุก โยนโทษ 1 ครั้ง ทีมรุกได้ส่งบอลเริ่มเล่น ไม่ตั้งเวลายิงประตูใหม่
ไม่มีทีมครอบครองบอล โยนโทษ 1 ครั้ง ฝ่ายรับได้ส่งบอลเริ่มเล่น ตั้งนาฬิกายิงประตู 12 วินาที
ตัวอย่าง 7-1 : ผู้เล่น A1 ถูกขานฟาวล์ไล่ออกจากการแข่งขัน (Disqualifying foul)
การแปลความตามกติกา 7-1 : ทีม B ได้โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล ผู้เล่น A1 จะต้องออกจากเกมแข่งขันจะต้องออกจากสนามทันที และฝ่ายจัดการแข่งขันอาจจะตัดสิทธิ์ให้ ออกจากรายการแข่งขันได้ (ตามกติกาข้อ 16)
ตัวอย่าง 7-2 : ด้วยเวลาที่เหลืออยู่ 3:05 นาที บนนาฬิกาแข่งขัน ทั้งสองทีมฟาวล์ทีมรวม 7 ครั้ง เท่ากัน ขณะที่ผู้เล่น A1 กำลังเลี้ยงบอลอยู่ในเขตพื้นที่ 2 คะแนน ผู้เล่น A2 และ B2 กำลังแย่งพื้นที่ ใต้ห่วงประตู ผู้ตัดสินขานฟาวล์ :
ก. ผู้เล่น A2 (ทีมรุก)
การแปลความตามกติกา 7.2.1 : เป็นการฟาวล์บุคคลของผู้เล่นฝ่ายรุก โดยผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี หรือทีมที่ได้สิทธิ์ครอบครองบอล ไม่มีการโยนโทษจากการฟาวล์ของฝ่ายรุก ให้ทีม B ได้ส่งบอลเริ่มเล่น
ข. ผู้เล่น B2 (ทีมรับ)
การแปลความตามกติกา 7-2.2 : ทีม A ได้สิทธิ์ในการโยนโทษ A2 จะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
ตัวอย่าง 7-3 : ขณะที่ผู้เล่น A1 กำลังเลี้ยงบอลผู้เล่น B1 ทำให้บอลเปลี่ยนทิศทางและผู้เล่น ทั้งสองวิ่งเข้าหาบอล เพื่อให้ได้เปรียบผู้เล่น A1 ผลัก B1 ผู้ตัดสินขานฟาวล์ต่อ A1 ในสถานการณ์นี้ :
ก. ทีม A ฟาวล์ทีมครั้งที่ 1
ข. ทีม A ฟาวล์ทีมครั้งที่ 7
ค. ทีม A ฟาวล์ทีมครั้งที่ 10
การแปลความตามกติกา 7-3 : หลังจาก B1 ทำให้บอลเปลี่ยนทิศทาง ทีม A ไม่ได้เสียการครอบครองบอล ดังนั้นการกระทำฟาวล์ของผู้เล่น A1 ให้พิจารณาว่าเป็นกระทำฟาวล์ของทีมรุก ในทุกกรณีให้เริ่มเล่นต่อด้วยทีม B ส่งบอลเริ่มเล่น
ตัวอย่างที่ 7-4 : ในช่วงเริ่มต้นการแข่งขันผู้เล่น B1 ทำฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาหลังจากดำเนินการเล่นแล้ว ผู้เล่น B1 ตั้งใจถ่วงเวลาในการเล่นผู้ตัดสินขานฟาวล์เทคนิคต่อทีม B เมื่อใกล้หมดเวลาการแข่งขัน B1 ทำฟาวล์เป็นการทำฟาวล์ทีมครั้งที่ 6 ของทีม B โดยผู้ตัดสินขานเป็นฟาวล์ :
ก. ฟาวล์บุคคล
การแปลความตามกติกา 7-4.1: ผู้เล่น B1 ยังคงเล่นต่อไปได้ ผู้เล่นจะไม่ถูกให้ออกจาก เกมแข่งขันจากจำนวนของการทำฟาวล์บุคคล
ข. ฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา
การแปลความตามกติกา 7-4.2 : ผู้เล่น B1 จะต้องออกจากเกมแข่งขันโดยอัตโนมัติ เนื่องจากทำฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาเป็นครั้งที่ 2 และต้องออกจากสนามแข่งขันทันที (ตามกติกาข้อที่ 16)
ค. ฟาวล์เทคนิค
การแปลความตามกติกา 7-4.3 : ผู้เล่น B1 ยังคงเล่นต่อไปได้ ผู้เล่นจะไม่ถูกให้ออกจาก เกมแข่งขันจากการทำฟาวล์เทคนิค 2 ครั้ง (ตามกติกาข้อที่ 16)
ตัวอย่างที่ 7-5 : ผู้เล่น A1 ถูกทำฟาวล์โดย B1 ขณะยิงประตูในพื้นที่ 1 คะแนนบอลไม่ลง ห่วงประตู ทีม B ทำฟาวล์เป็นครั้งที่ 3
การแปลความตามกติกา 7-5: ผู้เล่น A1 ได้โยนโทษ 1 ครั้ง
ตัวอย่างที่ 7-6 : ผู้เล่น A1 ถูกทำฟาวล์โดย B1 ขณะยิงประตูจากพื้นที่ 2 คะแนน บอลลง ห่วงประตู ทีม B ทำฟาวล์เป็นครั้งที่ 5
การแปลความตามกติกา 7-6: ทีม A ได้ 2 คะแนน และผู้เล่น A1 ได้โยนโทษอีก 1 ครั้ง
ตัวอย่างที่ 7-7 : ผู้เล่น A1 ถูกทำฟาวล์โดย B1 ขณะยิงประตูจากพื้นที่ 1 คะแนน บอลไม่ลง ห่วงประตู ทีม B ทำฟาวล์เป็นครั้งที่ 8
การแปลความตามกติกา 7-7: ผู้เล่น A1 ได้โยนโทษ 2 ครั้ง
ตัวอย่างที่ 7-8 : ผู้เล่น A1 ถูกทำฟาวล์โดย B1 ขณะยิงประตูจากพื้นที่ 2 คะแนนบอลลง ห่วงประตู ทีม B ทำฟาวล์เป็นครั้งที่ 10
การแปลความตามกติกา 7-8: ทีม A ได้ 2 คะแนนและผู้เล่น A1 จะได้โยนโทษ 2 ครั้ง ตามด้วยทีม A ได้ครอบครองบอล
ตัวอย่างที่ 7-9 : ในช่วงเวลาเดียวกันกับสัญญาณหมดเวลาการแข่งขัน ผู้เล่น B1 ทำฟาวล์ต่อ A1 ซึ่งไม่ได้อยู่ในท่ายิงประตู และปรับเป็นฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬา โดยมีคะแนน ทีม A : 13 คะแนน – ทีม B : 15 คะแนน
ก. ผู้เล่น A1 โยนโทษไม่ลง 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง
การแปลความตามกติกา 7-9.1: การแข่งขันจบลงแล้ว
ข. ผู้เล่น A1 โยนโทษลงทั้ง 2 ครั้ง
การแปลความตามกติกา 7-9.2: ให้ต่อเวลาการแข่งขัน ถ้าการฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาของ B1 เป็นครั้งแรก ให้เริ่มต้นการเล่นจากผลการเสี่ยงเหรียญเมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน ถ้าผู้เล่น B1 ทำฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาเป็นครั้งที่ 2 ต้องออกจากการแข่งขันแล้วให้เริ่มการแข่งขัน โดยทีม A (ไม่ใช่สิทธิ์การส่งบอลจากการเสี่ยงเหรียญ เมื่อเริ่มต้นการแข่งขัน)
ตัวอย่างที่ 7-10: ผู้เล่น A1 กระโดดยิงประตูจากพื้นที่ 2 คะแนน ผู้เล่น B1 วิ่งเข้าไปป้องกัน การยิงประตูของ A1
ก. ผู้เล่น B1 ปะทะบริเวณร่างกายส่วนล่างของผู้เล่น A1 เพียงเล็กน้อย ก่อนที่ A1 จะลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้างอย่างถูกต้อง
การแปลความตามกติกา 7-10.1 : เป็นการฟาวล์ฝ่ายรับของผู้เล่น B1 ผู้เล่น A1 ได้โยนโทษ 2 ครั้ง เนื่องจาก B1 เคลื่อนที่เข้าไปยังพื้นที่ในการลงสู่พื้นของ A1 และทำให้เกิดการปะทะ
ข. ผู้เล่น A1 ยื่นขาออกเพื่อให้เกิดการปะทะก่อนที่จะปล่อยบอลยิงประตู
การแปลความตามกติกา 7-10.2 : เป็นการฟาวล์ฝ่ายรุกของผู้เล่น A1 ถ้าบอลลงห่วงประตู ให้ยกเลิกคะแนนที่ทำได้ ทีม B ได้ครอบครองบอล โดยไม่ก่อให้เกิดการปะทะที่รุนแรง ทำให้เกิดอันตราย อาจถูกขานฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาได้
ค. ผู้เล่น A1 ยื่นขาให้ปะทะหรือพยายามให้เกิดการปะทะหลังจากปล่อยบอลออกจากมือแล้ว
การแปลความตามกติกา 7-10.3 : ผู้เล่น A1 ถูกขานฟาวล์เทคนิคจากการหลอกผู้ตัดสิน (Flopping) ถ้าบอลลงห่วงประตูให้นับเป็นคะแนน ทีม B จะได้โยนโทษ 1 ครั้ง และได้ครอบครองบอล (การครอบครองบอลของทีม B มาจากการยิงบอลลงห่วงประตู หรือเกิดจากสถานการณ์ลูกกระโดด ที่มาจากการยิงไม่ลงห่วงประตูรวมทั้งการขานฟาวล์ขณะบอลลอยอยู่กลางอากาศ) โดยไม่ก่อให้เกิดการปะทะที่รุนแรง ทำให้เกิดอันตราย อาจถูกขานฟาวล์ขาดน้ำใจนักกีฬาได้
ตัวอย่างวีดีโอ
• การปกป้องผู้ยิงประตูลงสู่พื้น ฝ่ายรับทำฟาวล์
https://youtu.be/nLmoRLoX1w?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/SGBovuz9tM?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/dPn1fMTXskY?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/d3cLf7L4_o8?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
https://youtu.be/gf9PXdv5t7M?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
การปกป้องผู้ยิงประตูลงสู่พื้น ไม่ขานฟาวล์
https://youtu.be/XDvBlxetGHs?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
การปกป้องผู้ยิงประตูลงสู่พื้น ฝ่ายรับทำฟาวล์ด้วยการปะทะแขน
https://youtu.be/TyIcbEnyc5Y?list=PLUJgyisN_KcpoKxu5PUJKP569KYYdwYYt
ตัวอย่างที่ 7-11 : ผู้เล่น A1 ยิงบอลลงห่วงประตู ในขณะที่บอลลอยอยู่กลางอากาศ ผู้เล่น A2 กล่าววาจาไม่สุภาพต่อผู้ตัดสิน ทีม A ถูกขานฟาวล์เทคนิค
การแปลความตามกติกา 7-11 : การยิงประตูของ A1 นับเป็นคะแนน ทีม B จะได้โยนโทษ 1 ครั้ง จากการทำฟาวล์เทคนิคของทีม A เนื่องจากบอลลอยอยู่กลางอากาศขณะขานฟาวล์เทคนิค จึงไม่มีทีมใดได้ครอบครองบอล ส่งผลให้เกิดสถานการณ์การลูกกระโดด เกมจะเล่นต่อโดยทีม B ได้ส่งเริ่มเล่น (Check ball) (เนื่องจากทีม B เป็นทีมป้องทีมสุดท้ายก่อนเกิดสถานการณ์การลูกกระโดด)
30 มี.ค. 2559